วันเสาร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2552

มาตรฐานการส่องสว่างของ CIE

CIE (COMMISSION INTERNATIONALE DE L'ECLAIRAGE)เป็นหน่วยงานที่ก่อตั้งขึ้นใน 1,931 และอยู่ในเวียนนาออสเตรียหรือในอีกชื่อหนึ่ง International Commission on Illumination เพื่อกำหนดมาตรฐานของการส่องสว่างของแสงและสี โดยจะแบ่งเป็นเจ็ดอย่างได้แก่
1.การมองเห็นสี
2.การวัดของแสงและรังสี
3.แสงภายใน
4.แสงภายนอก
5.แสงและสัญญาณสำหรับการขนส่ง
6.Photobiology and Photochemistry
7.Image Technology

ความส่องสว่างและความสว่าง
1 ความส่องสว่าง (อิลูมิแนนซ์) หมายถึงปริมาณแสงที่กระทบลงบนวัตถุต่อพื้นที่ มีหน่วยเป็น ลูเมนต่อตารางเมตร หรือ ลักซ์ (ถ้าหน่วยเป็น ลูเมนต่อตารางฟุต ความส่องสว่างก็เป็น ฟุตแคนเดิล)

อิลูมิแนนซ์ = ปริมาณแสง ( ลูเมน )/พื้นที่ ( m2 )

2 ความสว่าง (ลูมิแนนซ์) หมายถึงปริมาณแสงที่สะท้อนออกมาจากวัตถุต่อพื้นที่ มีหน่วยเป็น แคนเดลาต่อตารางเมตร ปริมาณแสงที่เท่ากันเมื่อตกกระทบลงมาบนวัตถุที่มีสีต่างกันจะมีปริมาณแสงสะท้อนกลับต่างกัน นั่นคือ ลูมิแนนซ์ ต่างกัน สาเหตุที่ต่างกันก็เนื่องมาจากสัมประสิทธิ์การสะท้อนแสงของวัสดุต่างกัน

องศาเคลวิน
การบอกสีทางด้านการส่องสว่างมักด้วยอุณหภูมิสี ซึ่งหมายถึงสีที่เกิดจากการเผาไหม้วัสดุสีดำซึ่งมีการดูดซับความร้อนได้สมบูรณ์ด้วยอุณหภูมิที่กำหนด เช่น หลอดฟลูออเรสเซนต์คูลไวท์มีอุณหภูมิสี 6500 องศาเคลวิน หมายถึง เมื่อเผาวัตถุสีดำให้ร้อนถึงอุณหภูมิ 6500 เคลวิน วัตถุนั้นจะเปล่งแสงออกมาเป็นสีคูลไวท์หรือขาวปนน้ำเงิน เป็นต้น

ตัวอย่างอุณหภูมิสีของหลอดต่างๆเป็นดังนี้น
เทียนไข 1900 เคลวิน
หลอดอินแคนเดสเซนต์ 2800 เคลวิน
หลอดฟลูออเรสเซนต์
- เดย์ไลท์ (Daylight ) 6500 เคลวิน
- คูลไวท์ (Cool White ) 4500 เคลวิน
- วอร์มไวท์ (Warm White ) 3500 เคลวิน

ความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิสีและความส่องสว่าง
การเลือกชนิดของหลอดที่ใช้ควรให้สัมพันธ์กันระหว่างความส่องสว่าง (ลักซ์) และ อุณหภูมิสีของหลอด ซึ่งแสดงความสัมพันธ์ระหว่างความส่องสว่างและอุณหภูมิสี หมายถึง หลอดที่มีอุณหภูมิต่ำควรใช้กับความส่องสว่างต่ำ หลอดที่มีอุณหภูมิสีสูงควรใช้กับความส่องสว่างสูง และ ถ้าใช้หลอดที่มีอุณหภูมิสีต่ำกับความส่องสว่างสูงจะตกไปในแรเงาด้านบนจะรู้สึกจ้า และถ้าใช้หลอดที่มีอุณหภูมิสีสูงกับความส่องสว่างต่ำจะรู้สึกทึม

ตัวอย่างการเลือกสีของหลอดให้สัมพันธ์กับความส่องสว่างของแต่ละงาน เช่น

ร้านอาหารสลัว ความส่องสว่าง 20 ลักซ์ ควรใช้หลอด 2000 องศาเคลวิน
นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมร้านอาหารไฟสลัวจึงจุดเทียนไข

บ้านอยู่อาศัย ความส่องสว่าง 100 ลักซ์ ควรใช้หลอด 2500 องศาเคลวิน
นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมบ้านอยู่อาศัย หรือโรงแรมจึงใช้หลอดอินแคนเดสเซนต์ ฮาโล เจนหรือหลอดวอร์มไวท์

สำนักงาน ความส่องสว่าง 500 ลักซ์ ควรใช้หลอด 4000 องศาเคลวิน

ห้องเขียนแบบ ความส่องสว่าง 700 ลักซ์ ควรใช้หลอด 4500 องศาเคลวิน

วัสดุสะท้อนแสงในโคมและคุณสมบัติของตัวสะท้อนแสง
วัสดุเพื่อใช้ในการสะท้อนแสงหรือส่งผ่านแสงในโคมมีสองชนิด คือ วัสดุสำหรับสะท้อนแสงซึ่งอาจมีผิวมันหรือหยาบ ถ้าเป็นชนิดผิวมันก็สะท้อนแสงออกไปในทิศทางตรงกันข้ามกับการตกกระทบของแสง แต่ถ้าเป็นวัสดุผิวหยาบก็จะกระจายแสงที่ตกกระทบลงมาออกเป็นหลายทิศทาง ส่วนวัสดุส่งผ่านแสงอาจทำด้วยแก้วหรือส่วนผสมหรือคล้ายพลาสติกมีไว้เพื่อส่งผ่านแสงออกไปในทิศทางที่ต้องการ
การออกแบบความโค้งของตัวสะท้อนแสงของโคมเพื่อให้ได้แสงออกมาเพื่อใช้ตามที่ต้องการในแต่ละโคมโดยมีแสงบาดตาน้อย หรือ การออกแบบการส่งผ่านเพื่อให้แสงหักเหออกไปในทิศทางที่ต้องการ เช่น ตัวกรองแสงในโคมไฟถนน เป็นต้น การออกแบบดังกล่าวไม่ใช่เรื่องง่าย และถือเป็นศาสตร์อย่างหนึ่งที่ต้องใช้เวลา ความสามารถในการเรียนรู้ รวมทั้งประสบการณ์จึงจะสามารถทำได้ ในประเทศที่มีการผลิตโคมเพื่อการส่งออกจำเป็นต้องอาศัยการออกแบบดังกล่าว

ความสม่ำเสมอของการส่องสว่าง
ในพื้นที่ทำงานที่ต้องการความส่องสว่างสม่ำเสมอ เช่น ในสำนักงานที่มีการโยกย้ายโต๊ะทำงานบ่อยๆ ควรมีอัตราความส่องสว่างต่ำสุดต่อความส่องสว่างเฉลี่ย ไม่ต่ำกว่า 0.8

ความส่องสว่างต่ำสุดต่อความส่องสว่างเฉลี่ยไม่ควรน้อยกว่า 0.8
ในพื้นที่ทำงานที่ไม่จำเป็นต้องมีความส่องสว่างสม่ำเสมอ ความส่องสว่างโดยรอบบริเวณทำงานไม่ควรมีความส่องสว่างน้อยกว่า 1/3 ของความส่องสว่างที่โต๊ะ หรือ พื้นที่ทำงาน เช่น ในห้องผู้จัดการ ที่โต๊ะทำงานมีความส่องสว่าง 500 ลักซ์ บริเวณรอบข้างไม่ควรมีความส่องสว่างน้อยกว่า 500/3 = 170 ลักซ์ เป็นต้น

ความส่องสว่างรอบโต๊ะทำงานไม่ควรน้อยกว่า 1/3 ของความส่องสว่างที่โต๊ะ
ในพื้นที่ทำงานข้างเคียงไม่ควรมีความส่องสว่างต่างกันมากกว่า 5:1 เช่น ในห้องทำงานมีความส่องสว่าง 500 ลักซ์ เมื่อเดินออกนอกห้องแล้ว ความส่องสว่างด้านนอกไม่ว่าจะเป็นทางเดินหรืออะไรก็แล้วแต่ไม่ควรมีความส่องสว่างน้อยกว่า 100 ลักซ์ เป็นต้น

ในพื้นที่ทำงานข้างเคียงไม่ควรมีความส่องสว่างต่างกันมากกว่า 5 เท่าตัว

ระบบการให้แสง
แสงสว่างพื้นฐานที่ต้องใช้เพื่อการใช้งานแยกออกได้เป็นระบบต่างๆดังนี้
1.แสงสว่างทั่วไป (General Lighting) คือ การให้แสงกระจายทั่วไปทั้งบริเวณพื้นที่ใช้งานซึ่งใช้กับความส่องสว่างที่ไม่มากจนเกินไป
2.แสงสว่างเฉพาะที่ (Locallised Lighting) คือ การให้แสงสว่างเป็นบางบริเวณที่ต้องการใช้ไฟแสงสว่างมาก เพื่อการประหยัดพลังงาน
3.แสงสว่างเฉพาะที่และแสงสว่างทั่วไป (General and Locallised Lighting) คือ การให้แสงสว่างทั้งแบบทั่วไปทั้งบริเวณและเฉพาะที่ที่ทำงาน ซึ่งมักใช้กับงานที่ต้องการความส่องสว่างสูงซึ่งไม่สามารถให้แสงแบบแสงสว่างทั่วไปได้เพราะเปลืองค่าไฟฟ้ามาก แต่ก็ไม่สามารถให้แสงแบบแสงสว่างเฉพาะที่ได้เพราะเมื่อเงยหน้าจากการทำงานก็จะพบบริเวณ ข้างเคียงมืดเกินไป ทำให้สายตาเสียได้

เปรียบเทียบความส่องสว่างของ CIE , IES , BS


ตารางแสดงการเปรียบค่าความสว่างในอาคารตามมาตรฐาน CIE ,IES ,และ BS

หมายเหตุ
มาตรฐาน IES คือ Illumination Engineering Society
มาตรฐาน BS คือ British Standards Exposure lndex
ตัวเลข คือ ค่าความส่องสว่าง
ตัวหนังสือ คือ ตำแหน่งของความสว่าง ( W = Working Plane , S = Switch , F = Floor )

วันพฤหัสบดีที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2552

บทสัมภาษณ์รุ่นพี่


ประวัติส่วนตัว
ชื่อ คุณ นานา พิไลสมบูรณ์
ชื่อเล่น แนน
ชื่อคณะ เริ่ดค่ะเสี่ย
เริ่มเข้าเรียนที่ลาดกระบัง ปี 2539
เรียนต่อปริญญาโทที่ MA : computer imaging in Architecture ,university of Westminster ,London
ปัจจุบันเปิดบริษัทกับเพื่อน ชื่อบริษัท station 1.618


สถาปนิกในดวงใจ
-Antonio Gaudi ตอนแรกก็ไม่ได้ชอบแต่พอไปเห็นผลงานจริงๆที่สเปนจึงได้เห็นมุมุมมองต่างๆจึงกลับทึ่งและชอบขึ้นมา

ทัศนคติของวิชาชีพนี้
-ก่อนเข้ามาเรียนก็ไม่ค่อยรู้อะไรมาก รู้เพียงว่าว่าเกี่ยวกับการออกแบบ และชอบวาดรูปอยู่แล้ว พอเข้ามาเรียนทำให้มีความสนใจมาก มีความตั้งใจที่จะเป็นสถาปนิกอย่างแน่นอน ยิ่งเรียนยิ่งชอบ พอจบออกมาทำงาน คิดว่าวิชาชีพนี้มีความหลากหลาย อยู่บนพื้นฐานของศิลปะและเหตุผล เรียนกับทำงานไม่เหมือนกัน ตอนเรียนเป็นเพียงแค่พื้นฐานเท่านั้น พอจบออกมาก็ต้องเริ่มต้นใหม่ ต้องเรียนรู้สิ่งใหม่หมด ต้องมีความมั่นใจในการทำงาน


การเริ่มต้นการทำงาน
-เริ่มแรกพอเรียนจบจากต่างประเทศกลับมาประเทศไทย ก็สมัครงานหลายที่ แต่ยังไม่ทันจะได้งานก็มีคนรู้จักแนะนำงานเข้ามาซึ่งเป็นรีสอร์ทเลยชวนเพื่อน(พี่ดุ๊ก)ที่เรียนจบที่ลาดกระบังด้วยกันมาทำงานด้วย จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน หลังจากนั้นจึงได้งานเข้ามาเรื่อยๆ จนวันหนึ่งผู้ว่าจ้างติดต่อเข้ามาในฐานะบริษัท จึงถึงเวลาแล้วที่ต้องเปิดบริษัทกับเพื่อน จึงเปิดบริษัทกัน 2 คน ชื่อว่า บริษัท station1.618 จากนั้นก็ได้งานเข้ามาเรื่อยๆ จากคนที่รู้ๆจักกันและคนที่เห็นผลงานที่เคยทำไว้


ลักษณะของงานที่ทำ

-บ้านพักอาศัย
-โรงแรมรีสอร์ท
-renovate
-shop
-รับเหมา interior


อุดมคติในการทำงาน
-ต้องมีความรับผิดชอบ มีความมั่นใจในการทำงาน พูดให้เป็นและเข้าใจลูกค้า


ผลงานที่ชื่นชอบมากที่สุด
-ความจึงชอบทุกผลงาน แต่ที่ชอบมาคือผลงานที่ได้ออกแบบตามใจตัวเองมากที่สุด ซึ่งก็คือร้านกาแฟของตัวเอง


ความประทับใจในการทำงาน
-ได้พบปะผู้คนใหม่ๆเรื่อยๆ ได้เจอเรื่องใหม่ๆเรียนรู้อยู่เรื่อยๆ ต้องสนใจในพฤติกรรมของผู้อื่นเรียนรู้และเข้าใจ


อุปสรรคในการปฏิบัติวิชาชีพ
-ทำงานไม่คุ้มค่าเงินช่วงแรกๆ ยังมือใหม่ ไม่ค่อยกล้า โดนชักดาบ ต่อมาก็ต้องเรียนรู้และต้องมีการจัดการ


อุปสรรคการประกอบวิชาชีพกับการดำรงชีวิตประจำวัน
-ไม่มีเลย มีความสุขกับการทำงานมาก

การอัพเดตข่าวสาร ความเคลื่อนไหวของวงการสถาปนิก
-จากแมกกาซีนจากในประเทศและต่างประเทศ ร้านหนังสือ ดูทีวี ดูหนัง ท่องเที่ยว

ทำไมจึงเปิดบริษัทแต่ไม่ทำงานในบริษัทใหญ่ๆ
-ชอบความอิสระ ไม่ต้องอยู่ในกฎเกณฑ์ ไม่ชอบทำงานประจำ ถ้าเข้าไปทำงานในบริษัทใหญ่ๆ คงอยู่ได้ไม่นาน บริษัทใหญ่ๆจะแบ่งเป็นหลายฝ่าย แยกกันทำงาน ไม่ได้คุมงานคนเดียวทั้งหมด

ความคิดที่จะไปทำงานต่างประเทศหรือป่าว
-หลังจากเรียนจบใหม่ๆก็มีความคิดที่จะหาประสบการก่อนแต่ติดปัญหาเรื่องวีซ่าจะกลับมาหางานทำงานที่เมืองไทยเลย พอทำงานที่ในประเทศก็มีความสุขดีจึงไม่มีความคิดที่จะไปต่างประเทศ

คำแนะนำสำหรับสถาปนิกรุ่นใหม่ๆ
-ต้องถามตัวเองว่าชอบวิชาชีพนี้หรือป่าว หรือชอบทางไหน วิชาชีพนี้สามารถไปได้หลากหลายทิศทาง

มีความคิดอย่างไรเกี่ยวกับการที่มีการสัมภาษณ์ครั้งนี้
-ดีเหมือนกัน ได้คิดและย้อนกลับมาถามตัวเองอีกครั้ง

วันพุธที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ไดอารี่ ทริปอาจารย์จิ๋ว 9 วัน 8 คืน อันแสนประทับใจ

วันที่ 4 กรกฎาคม 2552

วันแรกของการออกเดินทาง ออกเดินทางไปสู่จังหวัดสระบุรี ระหว่างทางก็ได้แวะปั๊มรับประทานอาหารกันจนอิ่มหนาสำราญ ที่แรกที่ไปคือ บ้านเขาแก้ว ของคุณทรงชัย ซึ่งเป็นบ้านที่ยังคงรักษาความเป็นสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเอาไว้อย่างดี มีความเป็นธรรมชาติ พื้นลานดินสะอาด ร่มรื่น ปลูกต้นไม้ไว้หลากหลาย ไม่มีหารเทคอนกรีตแบบบ้านในปัจจุบัน ที่จะทำให้เกิดความร้อนแก่ลานบ้าน ส่วนพื้นดินจะดูซับน้ำฝนได้ดี มีความเย็น ทำให้บ้านมีความร่มเย็น ลักษณะบ้านเป็นเรือนไม้ทรงไทย มีความเก่าแก่

เดินเข้าไปด้านในมีบ่อน้ำให้ความเย็น เลี้ยงปลาแรดตัวใหญ่ และปลาเสือพ่นน้ำแวกว่ายไปเป็นคู่ๆ เป็นจะที่เพื่อนๆต่างให้ความสนใจนั่งเล่น ถ่ายรูปกันอย่างสนุกสนาน พอถึงเวลาอาหารกลางวัน จึงเดินข้ามถนนไปอีกฝาก เป็นหอวัฒนธรรมไทยวน มีบริการอาหารกลางวัน น้ำสมุนไพร รับประทานอย่างเอร็ดอร่อย จากนั้นมีการแสดงจากเหล่าน้องๆ แสดงรำกระบวนท่าต่างๆมากมายหลายชุด ที่หอวัฒนะรรมไทยวนนี้ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำ แสดงให้เห็นถึงความเป็นอยู่ที่มีความสัมพันธ์กับแม่น้ำลำคลอง

จากนั้น ก็เดินทางต่อไปสู่จังหวัดกำแพงเพชร ไปสู่วัดช้างล้อม เป็นโบราณสถานเก่าแก่ มีเจดีย์มีช้างประดับรอบฐาน ปรับปรุงจากรูปแบบที่มีมาแต่ก่อนในราชธานีสุโขทัยและเมืองศรีสัชนาลัย จากนั้นวกรถกลับเข้ามาที่วัดพระนอนสถานที่ซึ่งมีอายุราวพุทธศตวรรษ 20 – 21 มีการพบใบเสมาหินชนวนจำหลักลวดลาย ปัจจุบันนำไปจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ บริเวณนี้มีพระพุธรูปยืน เก่าแก่ มีนักท่องเที่ยวมาชมจำนวนมาก ถึงมเวลาจะเย็นแล้ว พื้นที่โดยรอบเป็นต้นไม้มีความร่มรื่น โบราณสถานก่อด้วยอิฐเรียงกันมีมอสขึ้นอยู่ทั่วไปตามพ้นตามกำแพง แสดงให้เห็นถึงความเก่าแก่ พอเริ่มมืด ไม่มีแสดงพอ เริ่มกลับเดินทางยาวไปสู่จังหวัดลำปาง ทุกคนหลับสนิท หลังจากเหน็ดเหนื่อยจากวันแรก และแล้วก็ถึงที่พัก โรงแรมเอ็มอาร์พาเลท นำของไปเก็บ อาบน้ำ แต่ก้อยังหิว จึงยืมมอเตอร์ไซต์ของโรงแรมออกไปหาไรกินที่เซเว่น พออิ่มแล้วก็เข้านอนเตรียมตัวลุยสู่วันต่อไป

วันที่ 5 กรกฎาคม 2552

เช้าวันที่ 2 ที่จังหวัดลำปาง วันนี้ตื่นสาย กินข้าวเกือบไม่ทัน วันนี้ฝนตกด้วย คนที่ไม่มีเสื้อกันฝนหรือร่มก็แย่หน่อย เจอฝนวันแรกไม่ได้เตรียมการกัน ลำบากหน่อย ต้องระวังกล้องเปียกกัน แต่ผมสบาย 555 มีทั้งร่มทั้งหมวกสบาย ที่แรกที่ไปในวันนี้คือ วัดเสลารัตนปัพพตาราม (วัดไหล่หินแก้วช้างยืน) เป็นวัดที่มีศิลปะแบบล้านนามีความสวยงาม มีหน้าบันที่เป็นรูปสัตว์ล้านนาต่างๆ คล้ายกับวักพระธาตุลำปางหลวง ด้านหน้าเป็นลานทราย โลงสะอาดตา ไม่มีวัชพืชต้องกำจัด มีต้นโพธิ์ ที่มีไม้ค้ำ เรียกกันว่าไม้ค้ำสี เป็นประเพณีของชาวเหนือ เดินเข้าไปผ่านซุ้มประตู แล้วเจอกับวิหาร ด้านหลังเป็นเจดีเก่าแก่ ทั้งหมดล้อมไว้ด้วยกำแพง มีประตูทางเข้า 3 ด้าน รอบๆเป็นทางเดิน มีพระพุธรูป ระฆัง หน้าต่าง โดยรอบ ทุกคนแยกย้ายกันถ่ายรูป แล้วมานั่งรวมกันที่ศาลา เพราะฝนก็ยังไม่หยุดตก ถ่ายรูปเล่นบ้างนิดหน่อย แล้วจึงขึ้นรถเดินทางไปสู่ที่ต่อไป

ที่ที่สองในวันนี้คือวัดพระธาตุลำปางหลวง ผมเคยมาแล้วตอนมาเที่ยวบ้านเพื่อน(ต๊ะ)ที่จังหวัดลำปาง จำได้ว่ามีให้ดูพระธาตุกลับหัว ด้านหน้าเป็นมีสิงห์สามหัวอยู่สองด้านจากนั้นขึ้นบันไดไปสู่พระธาตุ ผ่านซุ้มประตูเข้าไป เจอกับวิหารอันสวยงาม มีความใหญ่โตหน้าบันคล้ายกับที่แรกที่ผ่านมา วันนี้ถึงแม้ฝนตก ก็ยังมีคนมาเที่ยวชมเป็นจำนวนมาก รอบๆเป็นลานทราย มีวิหารหลายหลัง เจดีย์มีการบูรณะอยู่ ออกจากกำแพง ไปด้านซ้าย พบกับต้นโพธิ์ที่มีไม้ค้ำสีจำนวนมาก ทางเดินที่เป็นคอนกรีตค่อนข้างลื่น เดินบนลานทรายจะสะดวกกว่า เดินไปพอกับหอเก็บเครื่องถ้วยชามเคลือบ และมีหอสรงน้ำพระแก้วมรกต จากนั้นได้เวลาอาหารเที่ยงจำเดินออกมาหาอาหารกินด้านล่าง ร้านขายข้าวที่นี้มีน้อย ไม่ค่อยอร่อยซักเท่าไหร่ แต่ไส้อั่วอร่อยมาก พออิ่มเวลาเหลือนิดหน่อย จึงเดินกลับขึ้นไปถ่ายรูปอีกเล็กน้อยแล้วจึงกลับขึ้นรถออกเดินทาง

อาจารย์จิ๋วได้พาแวะข้างๆทาง เจอบ้านเก่าๆก็พานักศึกษาเข้าไปรุมถ่ายรูป แล้วอธิบายเยวกับบ้าน ผมก็งงๆ กลัวเจ้าของบ้านเค้าไม่พอใจกัน แต่ไม่เป็นไร พวกเราคนเยอะ รุมถ่ายรูปบ้านข้างทางหลายแห่ง จนมืดไม่มีแสงเลยเดินทางกลับ วันนี้ปล่อยลงหาไรกินแถวรอบๆโรงแรม ถึงตอนนี้ฝนก็ยังตกอยู่เลย ไปเจอร้านข้าวต้มซึ่งไม่มีความอร่อยเลย แถมแพง แต่ก็อิ่มแล้วเดินกลับโรงแรมอาบน้ำ ทำกิจกรรมก่อนนอนเล็กน้อย แล้วจึงเข้านอน

วันที่ 6 กรกฎาคม 2552

เช้าวันที่ 3 ที่จังหวัดลำปาง วันนี้ตื่นมากินข้าวซอยทัน ฝนก็ยังคงตกอยู่ ออกเดินไปสู่หมู่บ้านพื้นถิ่น เดินชมบ้านพื้นถิ่นแบบต่างๆลักษณะความเป็นอยู่ การปลูกบ้านอยู่ใกล้ๆกันเป็น เครือญาติ แต่ละบ้านก็มียุ้งข้าวไว้เก็บข้าวเป็นเรือนแยกหลัง ด้านหลังหมู่บ้านเป็นท้องทุ่งนาทิวทัศน์สวยงาม จากนั้นออกเดินทางไปสู่วัดแห่งหนึ่ง แวะทานอาหารกลางวันที่เตรียมมากัน แต่ผมไม่ได้เตรียมมาจึงเดินออกมาหาร้านข้าว จึงได้พบกับร้านก๋วยเตี๋ยวร้านหนึ่งซึ่งอร่อย และถูกมาก พากันไปกิน 10 กว่าคน พอกินเสร็จเดินกลับมาที่วัดรับพรจากเจ้าอาวาส จากนั้นเดินออกนอกวัดไปตลุยถ่ายรูปเดินออกไปด้านหลังบ้าน ตลุยกับท้องทุ่งนา คราวนี้พากันเดินตามคันนา เนื่องจากฝนตก คนนาจึงไม่ค่อยแข็งแรง พากันเดินเหยียบย่ำจนคันนาของเค้าเละไปหมด พอเดินจะถึงถนน ผมดันลืมกระเป๋ากล้อง ต้องเดินย้อนกลับทางเก่า อย่างไกล

พอเข้าที่เข้าทาง พากันไปล้างเท้ากันจนสะอาด จึงเดินถ่ายรูปต่อเรื่อยไป พบเห็นวิถีชีวิตชาวบ้าน ปลูกข้าว เลี้ยงหมู เลี้ยงไก่ เดินวนจนโดยรอบหมู่บ้าน ถ่ายรูปเล่นเป็นที่ระลึกเล็กน้อย จึงขึ้นรถเดินทางไปสู่ที่ต่อไป

จากนั้นได้แวะข้างทางพบกับบ้านกลางทุ่งนา เลี้ยงควายด้วย ปลูกลำไย เพื่อนๆช่วยๆกันซื้อลำไยกันจนหมด เพียงพวงละ 5 บาท นั้น

ที่ต่อมาคือ วัดข่วงกอม มีวิหารไม้ สวยงามมาก มีการผสมผสานกับโมเดิร์น เป็นกำแพงหินด้านหน้า จากนั้นเดิน เข้าไปด้านใน พบกับสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นสมัยใหม่ วัสดุใหม่ ออกแบบโดยสถาปนิก จากนั้น เดินลุยโคลน(อีกแล้ว)เข้าไปสู่ด้านหลังมีลำธาร เดินกันไปอย่างทุลักทุเลกว่าจะถึง ข้ามสะพานไม้ แล้วก็ได้พบกับวิวที่สวยงามถ่ายรูปรวมกันเป็นที่ระลึก แล้วอาจารย์ก็เรียกกลับ เดินออกมาล้างเท้า ซื้อซาลาเปากินกัน จากนั้นเดินเข้าไปชมในวิการ มีความสวยงามเป็นอย่างยิ่ง แล้วเดินทางกลับโรงแรมพักผ่อนกัน หลับกันหมดเพราะวันนี้เหนื่อย

วันที่ 7 กรกฎาคม 2552

เช้าวันที่ 4 วันนี้อากาศแจ่มใสจะได้เปลี่ยนที่พัก ไปพักที่เชียงใหม่กัน ตอนเช้าเก็บข้าวของย้ายกันวุ่นวายนิดหน่อย วันนี้ที่แรกที่จะไปคือ วัดสุชาดาราม อุโบสถเป็นสถาปัตยกรรมล้านนาฝีมือช่างเชียงแสน เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ประดับด้วยภาพลงรักปิดทอง ด้านข้างเปิดช่องแสงเป็นลูกกรง




จากนั้นเดินไปดูเจดีย์ที่มี ทางเดินเป็นเส้นนำสายตาแบบไม่ตรงกลาง เป็นสไตล์พม่า และเข้าไปดูอุโบสถแห่งใหม่ ไหว้พระขอพร ออกมาเดินไปเสี่ยงเซียมซี ได้เบอร์ 15 ค่อนข้างดีเยี่ยมถึงเวลาแยกย้ายซื้อของกินเล็กน้อย แล้วเดินทางไปสู่ที่ต่อไป

วัดปงสนุก มีวิหารที่มีสีสันสดใส สะดุดตา โครงสร้างหลังคาสลับซับซ้อน คนที่ขาดวิชา อ.ไก่ 2 ครั้ง ต้องตัดโมเดลส่ง และที่นี่พอเจอเงินตกอยู่ 3000 บาท ตอนแรกคิดว่าใครแกล้ง เพราะเคยแกล้งคนอื่นไว้เอาแบงค์ปลอมมาโยนไว้ ผมจึงชี้ให้เพื่อนเก็บ เพื่อนยังไม่เชื่อผมเลย ผมจึงเดินเข้าไปเก็บ ปรากฎว่าเป็นเงินจริง สืบไปสืบมาเป็นเงินของพี่ ป.โท คนหนึ่ง เค้าจึงให้หนังสือตอบแทนมาเล่มหนึ่งเป็นการขอบคุณ

จากนั้นไปแวะทานอาหารกลางวันที่เตรียมมา วัดศรีรองเมือง ซึ่งผมก็ไม่ได้เตรียมมาอีกแล้ว ต้องเดินออกไปหากินนอกวัด คราวนี้เดินไกลมาก แถมฝนดันมาตกอีก กลับมาถ่ายรูป วัดนี้มีลักษะการตกแต่งให้คล้ายกับอยู่บนสรวงสวรรค์ มีความวิจิตรงดงามเป็นอย่างยิ่ง ที่นี้มีส้วมแบบพม่าด้วย




จากนั้นเดินทางไปบ้านยองโบราณ บ้านอนุรักษ์ดีเด่น จ.ลำพูน เป็นบ้านโบราณเก่าแก่ อายุหลายสิบปี มีโครงสร้างที่น่าสนใจ ทั้งเสา คาน ผนัง ฐานราก มีการอนุรักษณ์ไว้เป็นอย่างดี ก่อนกลับได้แวะกินหมูปิ้งไม้ละ 2 บาท จากนั้นขึ้นรถเดินทางสู่ที่พักที่สนามกีฬา 700 ปีเชียงใหม่ วันนี้นอนรวม มีกิจกรรมก่อนนอนเล็กน้อยแล้วเข้านอน

วันที่ 8 กรกฎาคม 2552

เช้าวันที่ 5 วันนี้ตื่นมาอากาศแจ่มใส ที่แรกวันนี้ คือ พระวิหารหอคำหลวง พอมาถึงก็วิ่งเข้าห้องน้ำทันที วิหารที่นี้เป็นวิหารไม้ ผนังตรงไม่มีการลดทอนของหลังคากับผนัง จากนั้นเดินออกจากวัดไปชมโรงแรมยู เชียงใหม่ มีการผสมผสานสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นกับสมัยใหม่ได้เป็นอย่างดี พื้นที่ภายในสวยงาม ระหว่างทางซื้อแว่นตาใหม่มา 1 อัน 99 บาท ใส่ถ่ายรูปเล่นนิดหน่อย แล้วเดินทางต่อไป


ที่ต่อมาคือวัดทุ่งอ้อ มีวิหารที่เล็กกระทัดรัด ด้านหน้าเป็นลานกว้าง รอบๆวัดปลูกต้นไม้ยืนต้นมากมาย มีความร่มรื่น






จากนั้นเดินทางไปสู่ วัดอินทราวาส(ต้นเกว๋น) อ.หางดง จ.เชียงใหม่ มีลานทรายกว้าง สวยงาม วัดนี้คนที่ขาด วิชา อ.ไก่ 1 ครั้ง ต้องตัดโมเดลส่ง วิหารที่นี้ ถ้ามองจากด้านหน้าจะการเชื่อมต่อกันของพื้นที่ภายในจากหลังคาที่เจาะช่อง ถ้ามองออกมาจะเห็นการแบ่งพื้นที่เป็นช่วงๆ เป็นสิ่งที่มหัศจรรย์มาก

จากนั้นเดินทางไปเยี่ยมชมโรงแรมราชมังคลา โรงแรมแห่งนี้นำเอาสถาปัตยกรรมล้านนานำมาออกแบบ ผสมผสานกับวัสดุสมัยใหม่ ได้อย่างลงตัว การแบ่งพื้นที่ใช้สอย รายละเอียดต่างๆ ช่องประตู หน้าต่าง รวมไปถึงภายในห้องพัก ใน
วันที่ 9 กรกฎาคม 2552

เช้าวันที่ 6 วันนี้อากาศแจ่มใส มีฝนตกเล็กน้อย สลับกับกับแดด เก็บข้าวของย้ายที่พักไปสู่จังหวัดสุโขทัย วันนี้เริ่มต้นการเดินทางไปยังเรือนไทลือ อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ เป็นที่ที่มีบ้านเรือน สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นรวมกันอยู่หลายหลัง เป็นบ้านเก่าแก่อายุหลายสิบปี บ้างหลังก็ผุบ้างแล้ว บ้างหลังก็ยังให้งานอยู่

พื้นที่โดยรวมมีความร่มรื่น ลักษณะการปลูกบ้านอยู่กันเป็นเครือญาติ มีบ้านหลังใหญ่เป็นบ้านที่เก็บผีบรรพบุรุษ พอสงกรานต์ก็จะมารวมตัวกกันที่นั้น คนอื่นที่ไม่ใช่ญาติห้ามเข้า

ก่อนกลับ เพื่อนๆถ่ายรูปเล่นกันเป็นที่ระลึก ซื้อไอศกรีมกินกันแล้วแบ่งให้หมาตัวหนึ่งกินด้วย


จากนั้นเดินทางไปสู่หมู่บ้านที่มีสถาปัตยกรรมพื้นกินอยู่ บ้านเรือนยังคงไว้แบบดั้งเดิม การใช้งานมีการปรับปรุงให้เข้ากับยุคสมัย บ้านหลังหนึ่งเป็นกลุ่มบ้านสองหลังซึ่งมีพื้นที่การให้งานสวยงาม อ.น้ำอธิบาย
ด้านหลังหมู่บ้านมีลำธารใสไหลผ่าน เดินลุยผ่านลำธารไปเป็นทุ่งนากว้างที่ยังไม่ได้ปลูกข้าว อยู่ในช่วงเว้นจากการทำนา ปล่อยทิ้งไว้ ด้านหลังไกลๆเป็นภูเขา ก็เดินทางสู่จังหวัดสุโขทัย






วันที่ 10 กรกฎาคม 2552

เช้าวันที่ 7 วันแรกที่จังหวัดสุโขทัย อากาศที่นี้ร้อนมาก ที่แรกที่ไปคือสนามบินสุโขทัย เป็นสนามบินที่ได้รับรางวัลเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมติดต่อกันหลายปี ได้นำเอาสถาปัตยกรรมสุโขทัยมาให้ มีเจดีย์พุ่มข้าวบิณฑ์ สระน้ำ ช่วยลดอากาศร้อน จากนั้นขึ้นรถเยี่ยมชมรอบสนามบิน แล้วพาไปดูโรงแรม ภายในสนามบิน ภายในสวยงาม อาคาร สระน้ำ พื้นที่ใช้สอย ลงตัว ผสมผสานกับสถาปัตยกรรมล้านนา แล้วพาไปทานอาหารภายในสนามบิน คนเยอะทำไม่ค่อยทันกิน ใกล้ๆมีสระน้ำ มีปลาตัวใหญ่เลี้ยงไว้ ถัดไปมีโมเดลไม้ของนครวัด ขนาดใหญ่มาก ดูแล้วน่าทึ่ง

จากนั้น เดินทางไป ศูนย์ศึกษาและอนุรักษ์ตาสังคโลก สุโขทัย ด้านในแสดงเครื่องปั้นดินเผาโบราณ รวมทั้งเตาเผาโบราณ การเก็บรักษา ด้านหลังศูนย์เป็น บ้านไม้เก่าอายุหลายสิบปี เป็นสถาปัตยกรรมพื้นที่ ที่น่าสนใจ ก่อนไปซื้อของที่ระลึกเล็กน้อยแล้วออกเดินทางต่อ





จากนั้นเดินทางต่อไป มรดกโลก อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ที่นี่มีวัดเก่าแก่หลายแห่ง ตอนไปถึงมีฝนต่อมาอย่างหนัก แต่ไม่นานนักก็หยุด







และได้พบกับท้องฟ้าที่สดใส ภาพโบราณสถานเก่าแก่หลังฝนตก ผสมกับแสงอาทิตย์ที่ร้อนแรง ทำให้แต่ละคนได้ถ่ายภาพออกมาสวยงามมากมาย เดินถ่ายภาพกันเพลินไปเลย หลายคนถ่ายแสงอาทิตย์กันสนุกสนานไม่กลัวตาบอดกันเลย ก่อนกลับถ่ายรูปเล่นกันเล็กน้อย พอหอมปากหอมคอ จากนั้นไปที่ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง แต่แสงไม่พอเลยต้องมาใหม่ในวันถัดไป




วันที่ 11 กรกฎาคม 2552

เช้าวันที่ 8 วันนี้ตื่นแต่เช้า อากาศแจ่มใส ร้อนนิดหน่อย เพื่อไปถ่ายรูปวัดที่เมื่อวานถ่ายไม่ทัน ขึ้นไปด้านบนซึ่งสูงมาก น่าหวาดเสียว แล้วได้ถวายเทียนให้วัดด้วย เดินออกมาซื้อของฝากอีกซักหน่อย จึงออกเดินทางสู่ที่ต่อไป และก่อนถึงก็แวะข้างทางถ่ายรูปโบราณสถานเล็กๆไปเรื่อยๆ






จากนั้นออกเดินทางไปสู่ อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย เยี่ยมชมโบราณสถานการก่ออิฐ วิหารใหญ่โต สมัยสุโขทัย อยุธยา วัดหลายแห่ง เช่น วัดมหาธาตุ เป็นวัดใหญ่ ที่มีองค์ประกอบมากมาย มีการเล่นระนาบได้น่าดูชม มีชาวต่างชาติมาท่องเที่ยวมากมาย นอกจากนี้ยังมี วัดศรีสวาย วัดพระพายหลวง วัดศรีชุม เสร็จแล้วก็เดินทางไปเขื่อนเก็บน้ำที่มีชื่อว่าสรีดภงค์ แล้วก็เดินทางกลับโรงแรมอย่างมีความสุข



วันที่ 12 กรกฎาคม 2552

เช้าวันสุดท้าย อากาศแจ่มใส ออกเดินทาง ที่แรกที่ไป สู่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร ไปชมอุโบสถ พร้อมสักการะพระพุทธชินราช และไปชมอุโบสถเก่า มีโครงสร้างที่ไม่เหมือนที่อื่น หัวเสาจะมาแผ่นไม้รองก่อนเป็นหลังคา จากนั้น และกินข้าวที่นั้นเลย ก่อนกลับเดินซื้อของฝาก พวกเพื่อนๆซื้อเครื่องดนตรีมาหลายอย่าง ร้องรำทำเพลงยาวตั้งแต่พิษณุโลกจนกรุงเทพ มีอะไรหลายอย่างที่ประทับใจมากบนรถในวันนั้น มีการร้องเพลงตอบโต้กันระหว่างหนุ่มสาวบนรถวันนั้น บ้างคู่ที่กุ๊กกิ๊กกัน ก็ร้องเพลงแซวกันใหญ่เลย หรือบางคนแอบชอบเพื่อนก็แอบบอกรักผ่านเสียงเพลงทำเอาหลายๆคนเขิลแทนเป็นตามๆกัน เป็นวันที่ลืมไม่ลงเลย และเป็นทริปที่น่าประทับใจ อย่างยิ่งในชีวิต ได้ความรู้ใหม่ๆได้มองเห็นมุมมองที่กว้างมากขึ้นกว่าเดิม เห็นของจริงความเป็นอยู่จริง วีถีชีวิตของชาวบ้านที่ไม่เคยได้สัมผัสที่ไหนมาก่อน นับว่าเป็นประโยชน์มากต่อวิชาชีพอย่างยิ่ง